
การดูแลรักษาซีพียู จึงต้องทำให้พัดลมระบายอากาศ และชุดจ่ายไฟฟ้ามีการทำงานที่ปกติอยู่เสมอ การตรวจเช็คอุปกรณ์ดังกล่าวทำได้ง่าย ๆ โดยการสังเกตว่า มีการทำงานปกติหรือไม่ ? มีเสียงผิดปกติขณะทำงานหรือไม่ ? โดยอุปกรณ์ทั้งสองสามารถเสื่อมลงได้ตามระยะเวลาใช้งาน โดยทั่วไปหากซีพียูต้องทำงานในอุณหภูมิที่ร้อนมาก ซีพียูจะหยุดทำงานเพื่อป้องกันความเสียหาย อาจทำให้เกิดอาการเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ไปซักครู่ แล้วดับไปเองบ่อย ๆ (สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือซีพียูร้อนจนเกินไป)
ปกติแล้วซีพยูเป็นอุปกรณ์ชิ้นส่วนที่เสียหายยากมาก หากคุณใช้งานตามปกติ ( บางทีก่อนที่มันจะเสียคุณอาจอัพเกรดหรื่อเปลี่ยนเครื่องใหม่ไปก่อนแล้วเสีย อีก ) อย่างไรก็ตามในตอนเลือกซื้อคอมพ์ประกอบกันตามร้าน หรือแม้แต่ประกอบด้วยตนเองก็ตาม ตวรตรวจสอบให้ดี เพราะไม่แน่ว่าสาเหตุที่ซีพียูมีปัญหา ( ทั้งที่ดูแลรักษาเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ) อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่ติดตั้งมันลงไปบนเมนบอร์ดนี่เอง เนื่องจากการใช้แรงกด กระแทก และขาดความระมัดระวังสามารถทำให้ขาตัวซีพีอยู่เกิดการหัก งอ หรือมีมุมบิ่นเกิดขึ้นบนส่วนใดส่วนหนึ่งได้
การติดตั้ง Heat sink ที่ไม่แนบสนิทกับตัวซีพียู มีการทาซีลิโคนไม่ทั่วถึงหรือน้อยเกินไป จะทำให้การระบายความร้อนจากซีพียูทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดความร้อนสะสมและลุกใหม้ขึ้นมาในที่สุดทั้่วนี้รวมไปถึงการทำโอเวอร์ คล็อกด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ซีพียูสามารถทำงานบนความเร็วสูงเกินกว่าสเป็กของมันตามที่ผู้ผลิต กำหนดเอาไว้ แม่จะได้ความเร็วที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิมอีกเล็กน้อย แต่ต้องแลกด้วยอายุการใช้งานที่สั้นลง
หากซีพียู่ของคุณเกิดอาการผิดปกติจากสาเหตุทั้งสองที่ว่ามานี้คงต้องทำใจนะ ครับ เพราะมั่นใจได้เลยว่าไม่สามารถนำไปเครมประกันได้แน่นอน ยกเว้นว่าซีพียูตัวนั้นจะได้รับการโอเวอร์คล็อกมาจากโรงงานหรือผู้ผลิตและ ได้รับประกันประสิทธิภาพ -อายุการใช้งานเอาไว้แล้ว ดังนั้นให้คุณทำติดตั้งตัวซีพียูและ Heat sink อย่างใจเย็น ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบุในคู่มือเมนบอร์ดอย่างคร่งครัด และที่สำคัญจะต้องไม่โอเวอร์คล็อกอย่างเด็ดขาด ( ถ้ายังไม่อยากให้ประกันหมดอายุ )
อีกสาเหตุที่บั่นทอนอายุซีพียูก็คือ พัดลมระบายอากาศ ( Ventilation Fan ) ที่ติดตั้งอยู่บนส่วนต่างๆ ในเคสของคอมพิวเตอร์เสีย ทำให้ซีพียูต้องทำงานทีความร้อนสูงตลอดเวลา ถ้าซีพียูเสียก็ต้องซื้อใหม่อย่างเดียว ไม่สามารถซ่อมหรือแก้ไขได้ หรือแม้ว่าในบางกรณีมันจะยังพอใช้งานได้บ้าง แต่ไม่ควรเสี่ยงเป็นอย่างยิ่งเพราะอาจทำให้อุปกรณ์อื่นๆ ในคอมพิวเตอร์พังเสียหายหรือเกิดอุบัติเหตุอื่นๆ ตามมา เช่น คอร์ซีพีอยูใหม้ เมนบอร์ดเสีย ไฟซ็อต ไฟใหม้ เป็นต้น ทีนี้แทนที่จะต้องเปลี่ยนแค่ซีพียู อาจต้องเสียเงินถอยหลังเครื่องใหม่กันเลยที่เดียว
สรุปแล้วการดูแลรักษาซีพียูที่ดีที่สุดก็คือ ระมัดระวังอย่าสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นกับบอดี้ของมันนั้นเอง ในการทำความสะอาดฝุ่นผงที่ติดอยู่ ควรหลีกเลี่ยงการใช้มือหรืออุปกรณ์ทำความสะอาดทุกชนิดสัมผัสโดยตรง ถ้ามีฝุ่นจับหนาแน่นแนะนำให้ใช้พัดลมหรือเปล่าที่เป่าลมใส่ตามซอกน้อยและบน แผงวงจรให้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น