วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

จัดทำโดย

นายเกรียงศักดิ์ ศิลารัตน์ ชั้นปวช.3 ห้อง4 กลุ่ม7
แผนกอิเล็กทรอนิกส์
เสนอ
อ.เอกรินทร์ สินทะเกิด




1.การซ่อมบำรุงและอาการเสียต่าง ๆ
1.ตรวจสอบอุปกรณ์ที่ติดตั้งในคอมพิวเตอร์

1.1คลิกขวาที่ My computer -> Properties
1.2คลิกที่แท็บ Hardware
1.3คลิกที่ Device Manager
2.การจัดการเมื่อคอมพิวเตอร์ใช้แล้วแฮงค์หรือค้าง

2.1ให้รอสักครู่ (ประมาณ 2-3 นาที) เพราะบางครั้งหน่วยความจำ (RAM) ของเครื่องอาจจะมีไม่เพียงพอในการทำงานพร้อมกันหลาย ๆ งานเลยทำให้เครื่องค้างไปสักครู่
2.2ถ้าเครื่องยังค้างอยู่ ให้กดปุ่ม Ctrl + Alt + Del พร้อม ๆ กันทั้ง 3 ปุ่ม จะเห็นว่างานที่เปิดใช้อยู่นั้น งานที่มีปัญหาจะมีข้อความว่า Not Responding ตรงหัวข้อ Status ให้กดปุ่ม End Task เพื่อบังคับให้ปิดงานที่ค้างอยู่นั้น จากนั้นก็สั่ง Restart Computer ใหม่สักครั้ง ก่อนที่จะใช้งานต่อไป3.เปิดเครื่องแล้วแต่ไม่มีไฟเข้าเครื่อง    

3.เปิดเครื่องแล้วมีเสียงร้องปี๊ด ปี๊ด

อาจเกิดปัญหาที่แรม (เสียงปี๊ดยาวกว่า 10 วินาที) หรือการ์ดแสดงผล (เสียงปี๊ดสั้น)   อาจจะไม่แน่นให้ลองถอดแล้วเสียบใหม่ ถ้ายังไม่ได้ให้ใช้ยางลบดินสอถูทำความสะอาดหน้าสัมผัสที่เป็นลายทองแดงทั้ง 2 ด้าน แล้วเสียบเข้าไปใหม่ ถ้ายังไม่ได้ให้ทดลองเปลี่ยนแรมหรือการ์ดแสดงผลดูก่อน
4.เปิดเครื่องแล้วไม่มีภาพปรากฏ

4.1ให้ตรวจสอบสายสัญญาณของจอว่าแน่นหรือไม่
4.2ถ้าเป็นการ์ดแสดงผล Onboard  ให้หาใบใหม่มาใส่ดู
4.3ในกรณีการ์ดแสดงผลไม่ใช่ Onboard ให้ตรวจสอบการ์ดแสดงผล อาจจะไม่แน่นให้ลองถอดแล้วเสียบใหม่ ถ้ายังไม่ได้ให้ใช้ยางลบดินสอถูทำความสะอาดหน้าสัมผัสที่เป็นลายทองแดงทั้ง 2 ด้าน แล้วเสียบเข้าไปใหม่ ถ้ายังไม่ได้อีก ให้หาการ์ดใบใหม่มาใส่ดู
5.บู๊ตเครื่องแล้วค้าง
5.1ให้สอบถามว่าก่อนที่บู๊ตเครื่องแล้วค้าง ได้มีการทำอะไรกับเครื่องนอกเหนือจากการเปิดใช้งานตามปกติ เช่น ลงโปรแกรมเพิ่มใหม่ ไปลบไฟล์อะไรออกบ้าง มีการโยกย้ายเครื่อง หรือไฟฟ้าดับ
5.2ให้เลือกบู๊ตเข้า Safe Mode โดยการกดปุ่ม F8 ย้ำ ๆ ขณะบู๊ตเครื่องใหม่ ถ้าบูตได้และมีการลงโปรแกรมเพิ่มใหม่ให้ Remove ออกก่อน`
5.3ที่หน้า Desk Top ให้คลิกปุ่มขวาของเมาส์ที่ไอคอน My Computer -> Properties -> Hardware -> Devices Manager เพื่อตรวจสอบอุปกรณ์และ Drivers ต่าง ๆ ว่ามีการแสดงเครื่องหมายที่นอกเหนือจากเครื่องหมาย + (บวก) และ – (ลบ) หรือไม่ ถ้ามีให้ตรวจสอบว่าอุปกรณ์ตัวนั้นเสียที่ตัวอุปกรณ์หรือที่ Driver ถ้าเป็นที่ Driver ให้หา Driver มาลงใหม่
6.4ถ้าเป็นที่ตัวอุปกรณ์ ให้ถอดอุปกรณ์ตัวนั้นออกมาก่อน
6.5ให้ใช้แผ่น StartUp Disk  ของ Windows 98/Me บู๊ตเข้า Dos และใช้แผ่นโปรแกรม ntfs4dos เพื่อทำให้ Dos ได้รู้จักระบบไฟล์ ntfs ก่อน จากนั้นค่อยทำการตรวจสอบหาข้อผิดพลาดบนฮาร์ดดิสก์ต่อไป
6.6ให้ตรวจสอบแรมโดยการหาใบใหม่มาเปลี่ยนดู
6.7ให้ตรวจดูตัว C (Condenser) บน Main Board ลักษณะของตัว C มีรูปร่างเป็นกระป๋อง โดยให้ดูที่ก้นกระป๋องว่ามีรอยปริออกหรือบวมนูนขึ้นมาผิดปกติหรือไม่ ถ้าเป็นต้องส่งซ่อม
6.8 ให้ตรวจสอบพัดลมระบายความร้อนของ CPU ว่ายังหมุนได้รอบปกติหรือไม่
7.เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้า         
7.1ให้บู๊ตเครื่องใหม่แล้วกดปุ่ม F8 ย้ำ ๆ ขณะบู๊ตเครื่อง เลือกเข้า Safe Mode
7.2ให้ Turn off system Restore on all drives
7.3ให้ทำ Disk Cleanup เพื่อลบขยะในเครื่อง และไฟล์ที่ไม่ต้องการ
7.4ให้ทำการลบ Internet Temporary files ออก
7.5ให้ทำการตรวจหาข้อผิดพลาดบนฮาร์ดดิสก์ เสร็จแล้วให้บู๊ตเครื่องใหม่
7.6ให้ยกเลิกการ Turn off system Restore on all drives
7.7ให้ Remove หรือ Uninstall  โปรแกรมที่ไม่ใช้งานออกจากระบบเครื่องคอมพิวเตอร์
7.8ให้ทำการแสกนไวรัส
8.เมาส์ไม่ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหว 

8.1ให้ดึงสายเสียบออกแล้วเสียบสายเมาส์เข้าไปใหม่
8.2ถ้าเป็นเมาส์แบบใช้แสงขั้วต่อเป็น USB ให้ลองเสียบเข้ากับช่องใหม่
9.ปัญหาเลื่อนเมาส์แล้วกระตุก

เมาส์แบบลูกกลิ้งเมื่อใช้ไประยะหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการเมาส์กระตุก เลื่อนตัวชี้ไม่ราบรื่น ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ อาการเหล่านี้เกิดจากสิ่งสกปรกไปเกาะที่ตัวลูกบอลและแกนหมุน ทำให้สัญญาณที่ส่งไปให้เมาส์ไม่สม่ำเสมอ การที่จะการเลื่อนชี้ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ  ทำให้ไม่คล่องแคล่วแน่นอน การเลื่อนชี้ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ เป็นไปด้วยความยาก ลำบาก เสียเวลา ดังนั้นจึงต้องทำความสะอาดเมาส์ มีขั้นตอนดังนี้    
9.1ให้ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นหงายเมาส์เปิดฝาเอาลูกกลิ้งออก

9.2ให้เช็ดสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ที่ลูกบอลและแกนหมุนทั้ง3ที่สัมผัสกับตัวลูกบอล หรืออาจจะใช้ปลายนิ้วเขี่ยสิ่งสกปรกออก (ถ้าให้ดี ควรใช้น้ำยาทำความสะอาดโดยเฉพาะ) เสร็จแล้วให้ปิดฝากลับเหมือนเดิม

2.ซีพียู (CPU: Central Processing Unit)
หรือหน่วยประมวลผล นับเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ประมวลผลต่าง ๆ ตามที่โปรแกรมไว้ โดยปกติซีพียูเป็นอุปกรณ์/ชิ้นส่วนที่เสียหายยากมากจากการใช้งานปกติ ซึ่งซีพียูอาจจะทำงานได้นานมากจนเราเลิกใช้เครื่องไปเลย แต่ถ้าเราโชคร้ายโดยถูกผู้ผลิตนำซีพียูทีมีความเร็วต่ำมาหลอกขายว่าเป็นซีพี ยูความเร็วสูง (CPU Remark) หรือทำการ PUSH ให้ซีพียูทำงานเร็วกว่าความเร็วที่กำหนดให้ ทำให้อายุการใช้งานของซีพียูสั้นลงกว่าปกติ อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อายุการใช้งานซีพียูสั้นลงก็คือ พัดลมระบายอากาศ (Ventilation Fan) ที่ติดตั้งอยู่ที่ชุดจ่ายไฟฟ้า (Power Supply) ของคอมพิวเตอร์เสีย ทำให้ซีพียูต้องทำงานที่ความร้อนสูงตลอดเวลา ถ้าซีพียูเสียก็ต้องซื้อใหม่อย่างเดียว ไม่สามารถทำการซ่อมหรือแก้ไขได้

      การดูแลรักษาซีพียู จึงต้องทำให้พัดลมระบายอากาศ และชุดจ่ายไฟฟ้ามีการทำงานที่ปกติอยู่เสมอ การตรวจเช็คอุปกรณ์ดังกล่าวทำได้ง่าย ๆ โดยการสังเกตว่า มีการทำงานปกติหรือไม่ ? มีเสียงผิดปกติขณะทำงานหรือไม่ ? โดยอุปกรณ์ทั้งสองสามารถเสื่อมลงได้ตามระยะเวลาใช้งาน โดยทั่วไปหากซีพียูต้องทำงานในอุณหภูมิที่ร้อนมาก ซีพียูจะหยุดทำงานเพื่อป้องกันความเสียหาย อาจทำให้เกิดอาการเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ไปซักครู่ แล้วดับไปเองบ่อย ๆ (สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือซีพียูร้อนจนเกินไป)

   
 ปกติแล้วซีพยูเป็นอุปกรณ์ชิ้นส่วนที่เสียหายยากมาก หากคุณใช้งานตามปกติ ( บางทีก่อนที่มันจะเสียคุณอาจอัพเกรดหรื่อเปลี่ยนเครื่องใหม่ไปก่อนแล้วเสีย อีก ) อย่างไรก็ตามในตอนเลือกซื้อคอมพ์ประกอบกันตามร้าน หรือแม้แต่ประกอบด้วยตนเองก็ตาม ตวรตรวจสอบให้ดี เพราะไม่แน่ว่าสาเหตุที่ซีพียูมีปัญหา ( ทั้งที่ดูแลรักษาเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ) อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่ติดตั้งมันลงไปบนเมนบอร์ดนี่เอง เนื่องจากการใช้แรงกด กระแทก และขาดความระมัดระวังสามารถทำให้ขาตัวซีพีอยู่เกิดการหัก งอ หรือมีมุมบิ่นเกิดขึ้นบนส่วนใดส่วนหนึ่งได้

      การติดตั้ง Heat sink ที่ไม่แนบสนิทกับตัวซีพียู มีการทาซีลิโคนไม่ทั่วถึงหรือน้อยเกินไป จะทำให้การระบายความร้อนจากซีพียูทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดความร้อนสะสมและลุกใหม้ขึ้นมาในที่สุดทั้่วนี้รวมไปถึงการทำโอเวอร์ คล็อกด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ซีพียูสามารถทำงานบนความเร็วสูงเกินกว่าสเป็กของมันตามที่ผู้ผลิต กำหนดเอาไว้ แม่จะได้ความเร็วที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิมอีกเล็กน้อย แต่ต้องแลกด้วยอายุการใช้งานที่สั้นลง

หากซีพียู่ของคุณเกิดอาการผิดปกติจากสาเหตุทั้งสองที่ว่ามานี้คงต้องทำใจนะ ครับ เพราะมั่นใจได้เลยว่าไม่สามารถนำไปเครมประกันได้แน่นอน ยกเว้นว่าซีพียูตัวนั้นจะได้รับการโอเวอร์คล็อกมาจากโรงงานหรือผู้ผลิตและ ได้รับประกันประสิทธิภาพ -อายุการใช้งานเอาไว้แล้ว ดังนั้นให้คุณทำติดตั้งตัวซีพียูและ Heat sink อย่างใจเย็น ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบุในคู่มือเมนบอร์ดอย่างคร่งครัด และที่สำคัญจะต้องไม่โอเวอร์คล็อกอย่างเด็ดขาด ( ถ้ายังไม่อยากให้ประกันหมดอายุ )

       อีกสาเหตุที่บั่นทอนอายุซีพียูก็คือ พัดลมระบายอากาศ ( Ventilation Fan ) ที่ติดตั้งอยู่บนส่วนต่างๆ ในเคสของคอมพิวเตอร์เสีย ทำให้ซีพียูต้องทำงานทีความร้อนสูงตลอดเวลา ถ้าซีพียูเสียก็ต้องซื้อใหม่อย่างเดียว ไม่สามารถซ่อมหรือแก้ไขได้ หรือแม้ว่าในบางกรณีมันจะยังพอใช้งานได้บ้าง แต่ไม่ควรเสี่ยงเป็นอย่างยิ่งเพราะอาจทำให้อุปกรณ์อื่นๆ ในคอมพิวเตอร์พังเสียหายหรือเกิดอุบัติเหตุอื่นๆ ตามมา เช่น คอร์ซีพีอยูใหม้ เมนบอร์ดเสีย ไฟซ็อต ไฟใหม้ เป็นต้น ทีนี้แทนที่จะต้องเปลี่ยนแค่ซีพียู อาจต้องเสียเงินถอยหลังเครื่องใหม่กันเลยที่เดียว

สรุปแล้วการดูแลรักษาซีพียูที่ดีที่สุดก็คือ ระมัดระวังอย่าสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นกับบอดี้ของมันนั้นเอง ในการทำความสะอาดฝุ่นผงที่ติดอยู่ ควรหลีกเลี่ยงการใช้มือหรืออุปกรณ์ทำความสะอาดทุกชนิดสัมผัสโดยตรง ถ้ามีฝุ่นจับหนาแน่นแนะนำให้ใช้พัดลมหรือเปล่าที่เป่าลมใส่ตามซอกน้อยและบน แผงวงจรให้
3.การ์ดแสดงผล 

เป็นตัวที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลกราฟฟิก เพื่อทำหน้าที่แสดงภาพขึ้นไปบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นการืดจอแบบออนบอร์ด (ฝังชิพอยู่บนเมนบอร์ด) กับการ์ดจอทั่วไปซึ่งเป็นแบบ AGP และ PCI-Express ถ้าคุณใช้งานการ์ดจอออนบอร์ด หากเสียขึ้นมาก็หมายความว่าได้เวลาที่คุณจะต้องหันไปพึ่งการ์ดจอแบบปกติ หรือไม่อย่างนั้นก็เปลี่ยนเมนบอร์ดกันเสียที (อย่างหลังนี่น่าจะสิ้นเปลืองกว่าแฮะ)
สาเหตุหลักที่สร้างความเสียหายแก่การ์ดจอมากที่สุดนอกจากการโหมเล่นเกม แบบข้ามวันข้ามคืน จนการ์ดจอเกิดความร้านสูง (ในกรณีที่ระบบระบายความร้อนไม่ดี) ก็คือการทำโอเวอร์คล็อก (OverClock) เพิ่มความเร็วการ์ดจอให้สูงกว่าที่โรงงานตั้งมา การทำงานที่หนักมาขึ้นอาจทำให้ชิพประมวลผลบางตัวไหม้ได้
โดยทั่วไปแล้วเราจะรู้สึกว่าการ์ดจอเริ่มมีปัญหาก็ต่อเมื่อเปิดจอ มอนิเตอร์แล้วภาพไม่ขึ้น เล่นเกมแล้วภาพกราฟฟิกกระตุก แตก หรือค้าง ในกรณีที่ภาพไม่ขึ้นน่าจะเกิดจากตัวการ์ดหลุด หรือเสียบเข้าในสล็อตไม่แน่น ทางที่ดีลองเปิดฝาเคสออกแล้วถอดออกมาตรวจสอบสักนิดว่าตรงส่วน Pin (ขาเสียบ) มีคราบสกปรกจำพวกคราบสนิม และคราบอ๊อกซายด์ติดอยู่หรือเปล่า หากมีให้ใช้ยางลบสะอาดๆ ถูออกเบาๆ (วิธีนี้นำไปใช้กับการ์ดและอุปกรณ์อื่นๆ ที่มี Pin ได้หมดเลยนะครับ) นอกจากนั้นตามตัวการ์ดและพัดลม ให้ใช้แปรงขนนุ่มๆ ปัดฝุ่นออก เรียบร้อยแล้วให้ใส่กลับคืนสล็อตให้ลงล็อกพร้อมขันน็อตให้แน่นๆ
4.ดิสก์ไดร์ฟ

ดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านและเขียนข้อมูลลงในแผ่นฟลอปปีดิสก์ ซึ่งดิสก์ไดร์ฟก็มีหลายชนิด แต่ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปมักจะใช้ดิสก์ไดร์ฟขนาด 3.5นิ้ว การใช้งานดิสก์ไดร์ฟโดยทั่วไปไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไรนัก ถ้าผ่านปีแรกไปได้แล้วก็มักจะผ่านไปถึงปีที่ 3 ถ้าหากว่าดิสก์ไดร์ฟเสียในช่วงปีแรกก็สามารถส่งซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าเสียหลังจากปีแรกแล้ว ก็ควรที่จะซื้อเปลี่ยนใหม่ เพราะถ้าซ่อมจะไม่คุ้มค่า เพราะราคาดิสก์ไดร์ฟในปัจจุบันมีราคาถูกมาก
การดูและรักษา Disk Drive ควรปฏิบัติดังนี้
- เลือกใช้แผ่นดิสก์ที่สะอาดคือไม่มีคราบฝุ่น ไขมัน หรือรอยขูดขีดใดๆ
- ใช้น้ำยาล้างหัวอ่านดิสก์ทุกๆเดือน
- หลีกเลี่ยงการใช้แผ่นดิสก์เก่าที่เก็บไว้นาน ๆ เพราะจะทำให้หัวอ่าน Disk Drive สกปรกได้ง่าย
5.แป้นพิมพ์(Keyboard)
อุปกรณ์ที่ขาดเสียไม่ได้เลยถ้าเราจะสั่งคุณคอมพิวเตอร์ให้ทำโน่นทำนี่ก็คือ คุณแป้นพิมพ์ (Keyboard) เป็นเครื่องมือที่เรากระแทกกระทั้นมันอยู่ทุกวัน เวลาอารมณ์ดีก็พิมพ์อย่างนุ่มนวล แต่พอหงุดหงิดขึ้นมาก็ฟาดงวงฟาดงาใส่ แต่ก็แปลกที่คุณคีย์บอร์ดกลับเป็นอุปกรณ์ที่ทนทานเกือบจะที่สุดแล้วในชุดคอมพิวเตอร์ของเรา
คีย์บอร์ดที่ดีต้องมีรูปร่างรูปทรงที่เหมาะสมซึ่งเขาก็ออกแบบมาได้อย่างดีแล้วล่ะครับ ที่เหลือก็คือผู้ใช้ที่จะเลือกแบบไหนที่เหมาะกับเรา บางคนชอบคีย์บอร์ดเล็กๆ บางคนชอบแบบมาตรฐาน บางคนชอบปรับให้แหงนหน้าขึ้นมากๆ บางคนก็ชอบแบบที่วางระนาบกับพื้น จะแบบใดก็ตามก็ต้องให้เราใช้งานอย่างสบาย ไม่งั้นจะมีอาการปวดข้อตามมา เนื่องจากการวางมือและแขนที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
อย่างที่บอกไปว่าคีย์บอร์ดนั้นเป็นอุปกรณ์ที่แสนจะทนทาน ยากครับที่จะชำรุดเสียหาย เว้นแต่เราใช้งานหนักเกินทนอย่างเช่นกระแทกแรงๆ จนหัก อันนี้ก็สุดจะเยียวยาครับ แต่สิ่งที่พบบ่อยๆ ก็คือปัญหาสิ่งสกปรกเกาะกวนคีย์บอร์ด ช่องว่างเล็กๆ ระหว่างแป้นพิมพ์คือแหล่งสะสมเศษขยะ ฝุ่นผง เศษอาหาร หรืออะไรต่อมิอะไรประดามีที่ร่วงหล่นลงไป ถ้าใครที่ชอบรับประทานขนม เครื่องดื่ม หรือทานอาหารมื้อหนักหน้าจอคอมพิวเตอร์ ก็ไม่แปลกที่เศษอาหารเหล่านั้นจะหล่นสะสมในคีย์บอร์ด ถ้าทิ้งไว้นานๆ เข้าก็จะกลายเป็นสวรรค์ของบรรดาแมลง ดังนั้นเขาจึงแนะนำว่าอย่ารับประทานอะไรที่หน้าคอมพิวเตอร์ไงล่ะครับ

การทำความสะอาดคีย์บอร์ดนั้นควรจะทำทุกๆ 6 เดือน อาจจะยุ่งยากเสียหน่อยและอาจต้องใช้ฝีมือเชิงช่างพอสมควร โดยค่อยๆ แกะปุ่มแป้นทั้งหมดออกมาทำความสะอาดทั้งตัวแป้นและฐาน ใช้แอลกอฮอล์เช็ดด้วยก็จะดีครับ พอแห้งสนิทแล้วก็ค่อยประกอบกลับเข้าที่ แต่ถ้าไม่มั่นใจว่าแกะแล้วจะประกอบกลับได้เหมือนเดิมหรือเปล่า ก็ไหว้วานให้ใครที่ทำเป็นทำให้ดีกว่านะครับ
หรือถ้าขี้เกียจแกะปุ่มออกก็หาแปรงเล็กๆ ค่อยๆ แซะปัดไล่เศษสิ่งสกปรกออกก็พอจะลดความสกปรกลงได้บ้าง หรือจะใช้ที่ดูดฝุ่นขนาดจิ๋วที่มีไว้ใช่สำหรับคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะก็ได้ เสียบเข้ากับช่อง USB ก็ใช้งานได้แล้วครับ แล้วเดี๋ยวนี้ยังมีของเล่นเป็นเจลทำความสะอาด รูปร่างหยุ่นๆ เหมือนดินน้ำมัน เอามากดทับที่แป้นเพื่อให้สิ่งสกปรกติดออกมา

มีบางคนใช้วิธีคว่ำคีย์บอร์ดแล้วเคาะๆ ให้เศษฝุ่นผงร่วงออกมา อันนี้ค่อนข้างรุนแรงไปเสียหน่อยและไม่แนะนำครับ เพราะอาจสร้างความเสียหายให้คีย์บอร์ดได้ ใจเย็นๆ ค่อยๆ แกะมาทำความสะอาดจะปลอดภัยและหมดจดกว่า แต่การป้องกันที่ดีที่สุดคือไม่รับประทานอะไรที่หน้าคอมแล้วเมื่อใช้เสร็จก็หาผ้าคลุมมาคลุมสักหน่อยก็ดีนะครับ
6.เมนบอร์ด (Mainboard)
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย  เมนบอร์ดที่ใช้งานในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นแบบ ATX เกือบทั้งหมดแล้ว  เทคโนโลยีของเมนบอร์ดเองก็ได้มีการพัฒนาไปมากเช่นกัน  ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาในการเพิมประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น  มีสีสันที่สวยงามโดยเฉพาะคนที่ชอบแต่งเครื่องของตัวเองจะเลือกสีสันที่มีความสวยงาม
มารู้จักส่วนประกอบของเมนบอร์ด


 1.ซ็อกเก็ตซีพียู

ซ็อกเก็ตซีพียู เป็นที่ติดตั้งของตัวซีพียูเองจะมีลักษณะตามรุ่นตามยี่ห้อ หรือตามซีพียูที่เราจะใส่  ดังนั้นเราควรที่จะเลือกให้ตรงกันด้วย

2. พอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อ

ทางด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมีพอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ  ที่อยู่ภายนอก  ซึ่งแต่ล่ะพอร์ตจะมีรูเสียบเฉพาะของอุปกรณ์ที่ต่อนั้นจะไม่ค่อยต่อผิดกัน มาดูตัวอย่างกันว่าแต่ล่ะพอร์ตนั้นใช้ต่อกับอะไรบ้าง

1 .PS/2 เป็นพอร์ตไว้สำหรับการเชื่อมต่อ เมาส์และคีย์บอร์ด  โดยทั่วไปแล้วเมาส์จะเป็นสีเขียว  และคีย์บอร์ดจะเป็นสีม่วง ซึ่งในปัจจุบันนี้จะมีการเปลี่ยนมาใช้ USB แต่ก็ยังมี PS/2 มีใช้อยู่เป็นจำนวนมาก

2. Firewire เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีลักษณะคล้ายกับ USB ซึ่งมีอัตราความเร็วกว่า  ด้วยมาตรฐาน IEEE 1394a มีอัตราการเชื่อมต่อรับ/ส่งข้อมูล  400MB/s อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเช่น ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก
3.eSATA เป็นการเชื่อมสำหรับ ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก เช่นกัน
4. USB เป็นการเชื่อมต่อภายนอกแบบต่างๆ  แล้วจะมีพอร์ตนี้มากเป็นพิเศษเพราะว่ามีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้หลากหลาย  อย่างเช่นเครื่องพิมพ์ เมาส์ และอื่นๆอีก รวมถึงเฟรตไดร์ด้วย สำหรับความเร็วแล้วอยู่ที่ 480MB/s
5.LAN ช่องการเชื่อมต่อแลน  ใช้สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายที่อยู่ในระบบ
6. ช่องต่อเสียง ไว้สำหรับการเชื่อมต่อเสียง ทั้งเสียง Input และ Output ทั้งลำโพง  ทั้งไมค์
3.สล็อต์ AGP
ใช้สำหรับการเชื่อมต่อของการ์ดแสดงผล  มีทั้ง AGP และ PCI Express  เพื่อเชื่อมต่อให้กับมอนิเตอร์ใช้ในการแสดงผล
4.สล็อต PCI
ใช้สำหรับการเชื่อมต่อการ์ดต่างๆที่ไม่ต้องการความเร็วสูงมากนัก เช่นการ์ดเสียง  การ์ดแลน และโมเด็มใช้สำหรับการเชื่อมต่อ

5.ตัวอ่านแผ่นดิสก์
ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วแต่ให้สำหรับการเชื่อมต่อ Memory Card ต่างๆ แต่ต้องชื้อตัวมาเพิ่ม
6.ซิปเซต
ถือได้ว่าเป็นมีความสำคัญ  เพราะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆบนเมนบอร์ด  โดยจะมีซิปเซตอยู่ 2 ส่วนด้วยกันคือ
-   North  Bridge จะทำหน้าที่คอบควบคุม ซีพียู แรม และการ์ดแสดงผล
-   South  Bridge  จะทำหน้าที่ควบคุมสล็อตต่างๆ
7.หัวต่อ SATA
ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์  แบบ SATA ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบอนุกรม  ซึ่งมีข้อดีทั้งประหยัดพลังงานและประหยัดพื้นที่  อีกทั้งยังทำให้ระบายความร้อนภายในเคสได้ดีอีกด้วย
8.หัวต่อแบบ IDE
ใช้ในการเชื่อมต่อแบบ IDE ทั้งแบบที่เป็นฮาร์ดดิสก์ และ CD/DVD ROM
9.ต่อแหล่งจ่ายไฟ

ที่ใช้สำหรับในการต่อแหล่งกระแสไฟฟ้า  จากพาวเวอร์ซับพราย  โดยจะมีทั้งรุ่นเดิมที่ใช้ 20 Pin และในปัจจุบัน 24 Pin โดยจะมีทั้งหมด อยู่ 2 แถว
10.ซ็อกเก็ตแรม


โดยใช้สำหรับใส่แรม โดยมีทั้งแบบ Dual Channel และ Triple Channel
11.ตัวเชื่อมปุ่มควบคุม
ใช้ในการเชื่อมต่อปุ่ม Power ปุ่ม รีสตาร์    และแสดง ไฟของการทำงานฮาร์ดดิสก์ และไฟขณะทำงาน
12.ตัวต่อ USB



ใช้ในการเชื่อมต่อ USB ภายในเคส  เพื่อเพิ่มในการเชื่อมต่อ USB ที่มากขึ้น
7.เมาส์(Mouse) ตัวนี้เป็นอุปกรณ์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ จากเดิมที่เป็นแบบลูกกลิ้ง จนพัฒนามาเป็นแบบออปติคอล เลเซอร์แบบไร้สาย มีทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่ให้เหมาะกับมือของผู้ใช้ บางรุ่นมีอุปกรณ์เสริมพวกลูกกลิ้ง ปุ่มเพิ่มฟังก์ชั่นอีกสารพัด เรียกว่ามีพัฒนาการไม่แพ้ส่วนประกอบอื่นๆ เลย
เดี๋ยวนี้ผู้ใช้หันมาใช้เมาส์ประเภทออปติคอลกันเสียมากครับ ราคาก็ไม่ได้แพงมากเมหือนสมัยก่อน ราคาเริ่มต้นที่หนึ่งร้อยบาทนิดๆ เท่านั้น ส่วนเมาส์แบบลูกกลิ้งนั้นหาซื้อตามร้านทั่วไปแทบไม่ได้แลว้ครับ ต้องไปหาตามร้านมือสองแล้ว แต่เมาส์แบบลูกกลิ้งก็ยังมีคนใช้อยู่ ซึ่งแบบลูกกลิ้งนี้ก็ต้องหมั่นทำความสะอาดเพราะด้วยรูปร่างของมันช่างเหมาะแก่การสะสมฝุ่นและสิ่งสกปรกเสียเหลือเกิน
ถ้าใครยังใช้เมาส์แบบลูกกลิ้งอยู่แล้วรู้สึกว่ามันเคลื่อนไหวไม่ได้ดั่งใจ  ก็เป็นไปได้ว่าเพราะมันเริ่มสกปรกแล้วนั่นเอง เมาส์รุ่นนี้ให้เราลองหงายท้องมันขึ้นมากครับ จะเห็นมีช่องกลมๆ อยู่ตรงกลาง ลองหมุนเปิดออกดูจะมีลูกยางทรงกลมอยู่ในนั้น แกะมันออกมาเลยครับ แล้วสังเกตดูด้านในเมาส์จะพบเฟืองสองสามชิ้นอยู่ เฟืองนี้ล่ะครับที่ทำหน้าที่เลื่อนไปมาตามการขยับของลูกกลมเมื่อกี้นี้ มันจึงเป็นที่สะสมของฝุ่นและสิ่งสกปรกต่างๆ ถ้าเมาส์ตัวไหนใช้งานมานานตรงเฟืองนี้ก็จะมีคราบสกปรกติดเป็นแผ่นเลยเชียวครับ หาก้านสำลีมาแคะออกและชุบแอลกอฮอล์พอหมาดทำความสะอาดก็เสร็จแล้วครับ


 ตรงที่ลูกศรชี้จะเห็นฝุ่นสะสมเป็นก้อน
แล้วลองดูที่ท้องเมาส์ตรงมุมทั้งสี่ด้านจะมีส่วนที่นูนขึ้นมานึดนึง นิดเดียวจริงๆ ครับ ไม่ถึงหนึ่งมิลด้วยซ้ำ บางรุ่นจะเป็นแผ่นยางบางๆ ที่ถ้าใช้ไปนานๆ เจ้าแผ่นยางนี้อาจจะเลื่อนจากตำแหน่งเดิมได้แต่ยังไม่หลุดออกมา ถ้าเห็นแบบนี้ก็ไม่ต้องสงเคราะห์มันด้วยการแกะออกนะครับ ขืนแกะออกมาเมาส์ของเราก็จะยิ่งเคลื่อนไหวลำบาก เจ้าส่วนที่นูนขึ้นมานี้แหละครับที่ช่วยให้เมาส์ไม่แบนราบติดกับพื้น ทำให้เมาส์ลอยขึ้นเหนือพื้นนิดนึงซึ่งก็พอที่จะทำให้ลูกกลิ้งไหลไปมาได้สะดวกนั่นเอง ถ้าเห็นว่ามุมทั้งสี่ด้านนี้มีครบสกปรกก็แค่เช็ดออกเท่านั้นเองครับ


บริเวณสีขาวนั่นล่ะครับที่เป็นแหล่งสะสมคราบสกปรก
สำหรับเมาส์รุ่นใหม่ๆ ที่เป็นแบบออปติคอลหรือเลเซอร์นั้น ไม่ต้องกังวลเรื่องสิ่งสกปรกเหมือนแบบลูกกลิ้งมากนัก ก็หมั่นทำความสะอาดตัวเมาส์ บริเวณที่นิ้วเราสัมผัสบ่อยๆ นั่นล่ะครับ จะมีคราบไคลติดอยู่ ใช้ผ้าแห้งเช็ดก็เรียบร้อยครับ และเมาส์รุ่นใหม่ๆ ก็ยังมีส่วนที่นูนขึ้นที่ท้องเมาส์เช่นกัน อย่าลืมหมั่นแกะเศษคราบสกปรกออกด้วยนะครับ







เมาส์แพดบางรุ่นก็มีที่รองข้อมือนุ่มๆ ติดมาให้ด้วย
การใช้เมาส์ที่ถูกต้องควรจะมีที่รองเมาส์หรือเมาส์แพดด้วยเสมอ เพื่อช่วยลดการสะสมของคราบสกปรกทั้งหลาย ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าถูเมาส์ไปกับโต๊ะโดยตรง ที่รองเมาส์นั้นก็มีหลากหลายประเภทหลากสีสัน เมาส์แบบออปติคอลนั้นยังจำเป็นต้องใช้เมาส์แพดด้วยซึ่งก็ควรเลือกแบบที่เป็นสีพื้น ไม่สะท้อนแสง ไม่มีลวดลาย แต่ถ้าเป็นเมาส์แบบเลเซอร์นั้นจะไฮเทคกว่าคือใช้ได้ทุกพื้นผิวแม้กระทั่งบนกระจก ขณะที่แบบออปติคอลทำไม่ได้ (ก็เพราะดีกว่าและแพงกว่านั่นเองครับ เลยมีประสิทธิภาพดีกว่า)

แล้วอย่ามัวแต่ทำความสะอาดเมาส์อย่างเดียวนะครับ เมาส์แพดที่ใช้ไปนานๆ ก็สกปรกได้เหมือนกัน ก็ต้องหมั่นทำความสะอาดด้วย ถ้าเป็นแบบพลาสติกก็เช็ดธรรมดา ถ้าเป็นแบบผ้าที่มีแผ่นยางรองกันลื่นก็เอาไปซักเลยครับ ตากให้แห้งสนิทแล้วก็นำกลับมาใช้ใหม่ได้แล้ว (ตากในที่ร่มครับ ห้ามตากแดดแรงๆครับ)
8.จอภาพ(Monitor)


สำหรับจอมอนิเตอร์นี้นะครับก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีฝุ่นเข้าไปเยอะเช่นกัน  แต่เราไม่ค่อยได้ไปแตะต้องชักเท่าไหร่แต่ฝุ่นก็เข้าไปเยอะ  และที่สำคัญถ้าเกิดจอมอนิเตอร์มีฝุ่นจับตรงหน้าจออาจจะทำให้เสียสายตาเวลาที่เราจ้องหน้าคอมพิวเตอร์ไปนานก็ได้
หากเป็นจอแบบ CRT ให้ใช้น้ำยาเช็ดกระจกได้  หรือน้ำยาทำความสะอาดมอนิเตอร์  บนจอได้เลย  โดยนำเอาผ้าแห้งมาเช็คก่อนหนึ่งรอบ  ให้ฝุ่นละออกก่อนแล้วเช็ดตามทีหลัง  ไม่อย่างนั้นเมื่อเราเช็ดแล้วจะเป็นรอยคราบได้
สำหรับจอ LCD ควรหลีกเลี่ยงน้ำยาทำความสะอาดมอนิเตอร์ยกเว้นเป็นน้ำยาที่ใช้สำหรับทำจอ LCDโดยเฉพาะ  ถ้าเกิดเป็นจอชนิดด้าน  หรือ Anti – Giare นั้นไม่ควรใช้น้ำยาใดๆ  เลยจะดีกว่า  ให้ใช้ผ้าไฟเบอร์เดเพื่อจำกัดฝุ่นระอองและคราบต่างๆ  โดยควรเช็ดไปในทิศทางเดียวกัน  ไม่ควรวนซ้ำๆ  เป็นวงกลม
ในกรณีที่มีคราบติดแน่  ให้ใช้ผ้าซุบน้ำอุ่นที่ผสมกับน้ำส้มสานชู(ใส่นิดเดียวก็พอนะครับ  แล้วผ้าควรเป็นผ้าฝ้าย)เช็ดบริเวณที่มีคราบเกาะติดแน่น  โดยห้ามเช็ดวนๆ  เป็นอันขาด  ให้เช็ดในทางทิศทางเดียวกัน
การนำลำโพงวางไว้ข้างจอมอนิเตอร์นั้นอาจทำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าภายในลำโพงมารบกวนสัญญาณภาพของจอมอนิเตอร์  ทำให้การแสดงผลผิดเพี้ยนไปอาจเห็นเป็นคลื่นหรือ  มีสีที่ผิดเพี้ยนไป  หากลำโพงของคุณมีงานประกอบที่ไม่ดีนัก  และไม่อยากซื้อลำโพงใหม่คำแนะนำคือควรวางลำโพงให้ห่างจากจอมอนิเตอร์ราวๆ  สองฟุตก็พอจะช่วยได้นะครับ  แล้วถ้าเกิดอยากจะซื้อใหม่ควรเป็นลำโพงที่มีคุณภาพแล้วมีวัสดุที่สามารถป้องกัน  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้


9.แรม (RAM) (Random Access Memory)

แรม (RAM)
RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผลจะต้องมีไฟเข้า Module ของ RAM ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็น chip ที่เป็น IC ตัวเล็กๆ ถูก pack อยู่บนแผงวงจร หรือ Circuit Board เป็น module เทคโนโลยีของหน่วยความจำมีหลักการที่แตกแยกกันอย่างชัดเจน 2 เทคโนโลยี คือหน่วยความจำแบบ DDR หรือ Double Data Rate (DDR-SDRAM, DDR-SGRAM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากเทคโนโลยีของหน่วยความจำแบบ SDRAM และ SGRAM และอีกหนึ่งคือหน่วยความจำแบบ Rambus ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีแนวคิดบางส่วนต่างออกไปจากแบบอื่น


SDRAM

รูปแสดง SDRAM
อาจจะกล่าวได้ว่า SDRAM (Synchronous Dynamic Random Access Memory) นั้นเป็น Memory ที่เป็นเทคโนโลยีเก่าไปเสียแล้วสำหรับยุคปัจจุบัน เพราะเป็นการทำงานในช่วง Clock ขาขึ้นเท่านั้น นั้นก็คือ ใน1 รอบสัญญาณนาฬิกา จะทำงาน 1 ครั้ง ใช้ Module แบบ SIMM หรือ Single In-line Memory Module โดยที่ Module ชนิดนี้ จะรองรับ datapath 32 bit โดยทั้งสองด้านของ circuite board จะให้สัญญาณเดียวกัน

DDR - RAM


รูปแสดง DDR - SDRAM

หน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM นี้พัฒนามาจากหน่วยความจำแบบ SDRAM เอเอ็มดีได้ทำการพัฒนาชิปเซตเองและให้บริษัทผู้ผลิตชิปเซตรายใหญ่อย่าง VIA, SiS และ ALi เป็นผู้พัฒนาชิปเซตให้ ปัจจุบันซีพียูของเอเอ็มดีนั้นมีประสิทธิภาพโดยรวมสูงแต่ยังคงมีปัญหาเรื่อง ความเสถียรอยู่บ้าง แต่ต่อมาเอเอ็มดีหันมาสนใจกับชิปเซตสำหรับซีพียูมากขึ้น ขณะที่ทางเอเอ็มดีพัฒนาชิปเซตเลือกให้ชิปเซต AMD 760 สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำแบบ DDR เพราะหน่วยความจำแบบ DDR นี้ จัดเป็นเทคโนโลยีเปิดที่เกิดจากการร่วมมือกันพัฒนาของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง เอเอ็มดี, ไมครอน, ซัมซุง, VIA, Infineon, ATi, NVIDIA รวมถึงบริษัทผู้ผลิตรายย่อยๆ อีกหลายDDR-SDRAM เป็นหน่วยความจำที่มีบทบาทสำคัญบนการ์ดแสดงผล 3 มิติ
ทางบริษัท nVidia ได้ผลิต GeForce ใช้คู่กับหน่วยความจำแบบ SDRAM แต่เกิดปัญหาคอขวดของหน่วยความจำในการส่งถ่ายข้อมูลทำให้ทาง nVidia หาเทคโนโลยีของหน่วยความจำใหม่มาทดแทนหน่วยความจำแบบ SDRAM โดยเปลี่ยนเป็นหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM การเปิดตัวของ GeForce ทำให้ได้พบกับ GPU ตัวแรกแล้ว และทำให้ได้รู้จักกับหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM เป็นครั้งแรกด้วย การที่ DDR-SDRAM สามารถเข้ามาแก้ปัญหาคอคอดของหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผลได้ ส่งผลให้ DDR-SDRAM กลายมาเป็นมาตรฐานของหน่วยความจำที่ใช้กันบนการ์ด 3 มิติ ใช้ Module DIMM หรือ Dual In-line Memory Module โดย Module นี้เพิ่งจะกำเนิดมาไม่นานนัก มี datapath ถึง 64 bit โดยทั้งสองด้านของ circuite board จะให้สัญญาณที่ต่างกัน

Rambus

รูปแสดง Rambus

Rambus นั้นทางอินเทลเป็นผู้ที่ให้การสนับสนุนหลักมาตั้งแต่แรกแล้ว Rambus ยังมีพันธมิตรอีกเช่น คอมแพค, เอชพี, เนชันแนล เซมิคอนดักเตอร์, เอเซอร์ แลบอเรทอรีส์ ปัจจุบัน Rambus ถูกเรียกว่า RDRAM หรือ Rambus DRAM ซึ่งออกมาทั้งหมด 3 รุ่นคือ Base RDRAM, Concurrent RDRAM และ Direct RDRAM RDRAM แตกต่างไปจาก SDRAM เรื่องการออกแบบอินเทอร์-เฟซของหน่วยความจำ Rambus ใช้วิธีการจัด address การจัดเก็บและรับข้อมูลในแบบเดิม ในส่วนการปรับปรุงโอนย้ายถ่ายข้อมูล ระหว่าง RDRAM ไปยังชิปเซตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 4 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 4 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล เช่น RAM มีความเร็ว BUS = 100 MHz คูณกับ 4 pipline จะเท่ากับ 400 MHz
วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนถ่ายข้อมูลของ RDRAM นั้นก็คือ จะใช้อินเทอร์เฟซเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Rambus Interface ซึ่งจะมีอยู่ที่ปลายทางทั้ง 2 ด้าน คือทั้งในตัวชิป RDRAM เอง และในตัวควบคุมหน่วยความจำ (Memory controller อยู่ในชิปเซต) เป็นตัวช่วยเพิ่มแบนด์วิดธ์ให้ โดย Rambus Interface นี้จะทำให้ RDRAM สามารถขนถ่ายข้อมูลได้สูงถึง 400 MHz DDR หรือ 800 เมกะเฮิรตซ์ เลยทีเดียว
แต่การที่มีความสามารถในการขนถ่ายข้อมูลสูง ก็เป็นผลร้ายเหมือนกัน เพราะทำให้มีความจำเป็นต้องมี Data path หรือทางผ่านข้อมูลมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อรองรับปริมาณการขนถ่ายข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้ขนาดของ die บนตัวหน่วยความจำต้องกว้างขึ้น และก็ทำให้ต้นทุนของหน่วยความจำแบบ Rambus นี้ สูงขึ้นและแม้ว่า RDRAM จะมีการทำงานที่ 800 เมกะเฮิรตซ์ แต่เนื่องจากโครงสร้างของมันจะเป็นแบบ 16 บิต (2 ไบต์) ทำให้แบนด์วิดธ์ของหน่วยความจำชนิดนี้ มีค่าสูงสุดอยู่ที่ 1.6 กิกะไบต์ต่อวินาทีเท่านั้น (2 x 800 = 1600) ซึ่งก็เทียบเท่ากับ PC1600 ของหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM

สัญญาณนาฬิกา

DDR-SDRAM จะมีพื้นฐานเหมือนกับ SDRAM ทั่วไปมีความถี่ของสัญญาณนาฬิกาเท่าเดิม (100 และ 133 เมกะเฮิรตซ์) เพียงแต่ว่า หน่วยความจำแบบ DDR นั้น จะสามารถขนถ่ายข้อมูลได้มากกว่าเดิมเป็น 2 เท่า เนื่องจากมันสามารถขนถ่ายข้อมูลได้ทั้งในขาขึ้นและขาลงของหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ในขณะที่หน่วยความจำแบบ SDRAM สามารถขนถ่ายข้อมูลได้เพียงขาขึ้นของรอบสัญญาณนาฬิกาเท่านั้น
ด้วยแนวคิดง่าย ๆ แต่สามารถเพิ่มแบนด์วิดธ์ได้เป็นสองเท่า และอาจจะได้พบกับหน่วยความจำแบบ DDR II ซึ่งก็จะเพิ่มแบนด์วิดธ์ขึ้นไปอีก 2 เท่า จากหน่วยความจำแบบ DDR (หรือเพิ่มแบนด์วิดธ์ไปอีก 4 เท่า เมื่อเทียบกับหน่วยความจำแบบ SDRAM) ซึ่งก็มีความเป็นไปได้สูง เพราะจะว่าไปแล้วก็คล้ายกับกรณีของ AGP ซึ่งพัฒนามาเป็น AGP 2X 4X และ AGP 8X
หน่วยความจำแบบ DDR จะใช้ไฟเพียง 2.5 โวลต์ แทนที่จะเป็น 3.3 โวลต์เหมือนกับ SDRAM ทำให้เหมาะที่จะใช้กับโน้ตบุ๊ก และด้วยการที่พัฒนามาจากพื้นฐานเดียว DDR-SDRAM จะมีความแตกต่างจาก SDRAM อย่างเห็นได้ชัดอยู่หลายจุด เริ่มตั้งแต่มีขาทั้งหมด 184 pin ในขณะที่ SDRAM จะมี 168 pin อีกทั้ง DDR-SDRAM ยังมีรูระหว่าง pin เพียงรูเดียว ในขณะที่ SDRAM จะมี 2 รู ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่า DDR-SDRAM นั้น ไม่สามารถใส่ใน DIMM ของ SDRAM ได้ หรือต้องมี DIMM เฉพาะใช้ร่วมกันไม่ได้

การเรียกชื่อ RAM

Rambus ซึ่งใช้เรียกชื่อรุ่นหน่วยความจำของตัวเองว่า PC600, PC700 และ ทำให้ DDR-SDRAM เปลี่ยนวิธีการเรียกชื่อหน่วยความจำไปเช่นกัน คือแทนที่จะเรียกตามความถี่ของหน่วยความจำว่าเป็น PC200 (PC100 DDR) หรือ PC266 (PC133 DDR) กลับเปลี่ยนเป็น PC1600 และ PC2100 ซึ่งชื่อนี้ก็มีที่มาจากอัตราการขนถ่ายข้อมูลสูงสุดที่หน่วยความจำรุ่นนั้น สามารถทำได้ ถ้าจะเปรียบเทียบกับหน่วยความจำแบบ SDRAM แล้ว PC1600 ก็คือ PC100 MHz DDR และ PC2100 ก็คือ PC133 MHz DDR เพราะหน่วยความจำที่มีบัส 64 บิต หรือ 8 ไบต์ และมีอัตราการขนถ่ายข้อมูล 1600 เมกะไบต์ต่อวินาที ก็จะต้องมีความถี่อยู่ที่ 200 เมกะเฮิรตซ์ (8 x 200 = 1600) หรือถ้ามีแบนด์วิดธ์ที่ 2100 เมกะไบต์ต่อวินาที ก็ต้องมีความถี่อยู่ที่ 266 เมกะเฮิรตซ์ (8 x 266 = 2100)

อนาคตของ RAM

บริษัทผู้ผลิตชิปเซตส่วนใหญ่เริ่มหันมาให้ความสนใจกับหน่วยความจำแบบ DDR กันมากขึ้น อย่างเช่น VIA ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปเซตรายใหญ่ของโลกจากไต้หวัน ก็เริ่มผลิตชิปเซตอย่าง VIA Apollo KT266 และ VIA Apollo KT133a ซึ่งเป็นชิปเซตสำหรับซีพียูในตระกูลแอธลอน และดูรอน (Socket A) รวมถึงกำหนดให้ VIA Apolle Pro 266 ซึ่งเป็นชิปเซตสำหรับเซลเลอรอน และเพนเทียม (Slot1, Socket 370) หันมาสนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM แทนที่จะเป็น RDRAM

แนวโน้มที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดของทั้ง DDR II กับ RDRAM เวอร์ชันต่อไป เทคโนโลยี quard pump คือการอัดรอบเพิ่มเข้าไปเป็น 4 เท่า เหมือนกับในกรณีของ AGP ซึ่งนั่นจะทำให้ DDR II และ RDRAM เวอร์ชันต่อไป มีแบนด์-วิดธ์ที่สูงขึ้นกว่างปัจจุบันอีก 2 เท่า ในส่วนของ RDRAM นั้น การเพิ่มจำนวนสล็อตในหนึ่ง channel ก็น่าจะเป็นหนทางการพัฒนาที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งนั่นก็จะเป็นการเพิ่มแบนด์วิดธ์ของหน่วยความจำขึ้นอีกเป็นเท่าตัวเช่น กัน และทั้งหมดที่ว่ามานั้น คงจะพอรับประกันได้ว่า การต่อสู้ระหว่าง DDR และ Rambus คงยังไม่จบลงง่าย ๆ และหน่วยความจำแบบ DDR ยังไม่ได้เป็นผู้ชนะอย่างเด็ดขาด
10.พาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
แหล่งจ่ายไฟหรือที่มักจะเรียกทับศัพท์ว่าเพาว์เวอร์ซัพพลาย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ไฟฟ้ากระแสสลับจากแหล่งกำเนิดให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงด้วยความต่างศักย์ที่ เหมาะสมก่อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ โดยมีสายเชื่อมต่อไป ยังอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ภายในเครื่อง ซึ่งในการแปลงสัญญาณไฟฟ้าดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดความร้อนขึ้นด้วย ดังนั้นภายในแหล่งจ่ายไฟจึงต้องมีพัดลมเพื่อช่วยในการระบายความร้อนออกจาก ตัวเครื่องซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะการที่เครื่องมีความร้อนที่สูงมาก ๆ นั้น อาจจะเกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ประกอบภายในเครื่องได้ง่าย ปกติ แล้วมักจะไม่ค่อยมีการเลือกซื้อพาว์เวอร์ซัพพลายกันนักถ้าไม่ใช่เนื่องจาก ตัวเก่าที่ใช้อยู่เกิดเสียไปโดยมากเราจะเลือกซื้อ มาพร้อมกับเคส
         เพาว์เวอร์ซัพพลายจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
         1. แบบ AT
         2. แบบ ATX



ปัญหาที่เกิดจาก Power Supply

         คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์จะทำงานได้ต้องมีแหล่งจ่ายไฟให้พลังงานซึ่งต้องอาศัย power supply เป็นตัวจ่ายไฟให้กับเครื่องดัวนั้นหากอุปกรณ์ตัวนี้มีปัญหาหรือเสียซึ่งทำให้เราปวดหัวได้เหมือนกัน
         power supply คือ power supply เป็น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นกระแสตรงเพื่อจ่าย ให้กับอุปกรณ์อื่น เช่น เมนบอร์ด ซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อบปี้ดิสก์ไดร์ และซีดีรอมไดร์หาก power supply มีคุณภาพดี จ่ายกระแสไฟได้เที่ยงตรง ถูกต้อง ให้กับอุปกรณ์อื่นในเครื่องคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานได้ดีไปด้วย หากการจ่ายไฟไม่เที่ยงตรงสม่ำเสมอก็จะทำให้การทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ มีปัญหาไปด้วย
         power supply เป็นอุปกรณ์ที่อาจสร้างปัญหาให้กับเครื่องของเราได้ หาก power supply เสียก็มักไม่ซ่อมกันเพราะไม่คุ้ม เพราะราคาของไหม่เพียง 500-800 บาทเท่านั้น แต่ก็มีอาการเสียของคอมพิวเตอร์หลายอย่างที่มักเกี่ยวข้องกับ power supply ด้วย เช่นกัน เครื่องทำงานรวนตรวจเช็คอุปกรณ์มนเครื่องแล้วไม่เสีย อยากทราบสาเหตุอาการแบบนี้เป็นอาการเสียที่มักคาดไม่ถึงเพราะหาสาเหตุยาก เนื่องจากช่างส่วนใหญ่จะคิดว่าอาการรวนของเครื่องมาจาก แรม ซีพียู เมนบอร์ด เท่านั้น แต่ไม่ได้นึกถึง Power supply จึงข้ามการตรวจสอบในส่วนนี้ไปหากนำ Power supply ที่ สงสัยมาตรวจวัดมาตรวจวัดแรงดันไฟจะพบว่าจ่ายกระแสไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอซึ่งมี สาเหตุมาจากชำรุดเพราะใช้งานมานานหรือใช้ชิ้นส่วนราคาถูกจึงทำให้อุปกรณ์ที่ เกี่ยวข้อง แรม ซีพียู เมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ พลอยทำงานไม่ได้ไปด้วย ซึ่งการแก้ไขก็คือให้เปลี่ยน Power supply ตัวใหม่ เครื่องก็จะทำงานได้ดีดังเดิม
         สำหรับวิธีตรวจวัดแรงดันไฟของ Power supply มีดังนี้
         1. ถอด Power supply และสายขั้วต่อจ่ายไฟที่โหลดให้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหมดออกและนำออกมาจากเคส
         2. ปลอก สายไฟเส้นเล็กทั้งสองข้างและนำปลายอีกข้างหนึ่งไปเสียบเข้ากับช่องต่อของสาย เส้นสีเขียวและอีกข้างหนึ่งเสียบเข้ากับช่องต่อของสายเส้นสีดำของขั้วจ่ายไฟ สำหรับ เมนบอร์ดของ Power supply
         3. นำสายจ่ายไฟจาก Power supply เสียบเข้ากับขั้วรับไฟของซีดีรอมไดร์เพื่อยึดการ์ดแลนเข้ากับอุปกรณ์
         4. นำสายไฟเข้ากับขั้วรับท้าย Power supply และนำปลายอีกข้างหนึ่งไปเสียบเข้ากับปลั๊กไฟบ้าน
         5. นำ ขั้ววัดไฟลบ (สายสีดำ) ไปเสียบเข้ากับจ่ายไฟสายสีดำและขั้ววัดไฟบวก (สายสีแดง) ไปเสียบเข้ากับขั้วจ่ายไฟสายสีเหลืองเพื่อจะตรวจดูว่า Power Supply จ่ายไฟออกมาได้ 12 V.ถูกต้องหรือไม่
         6. เปลี่ยน ขั้ววัดไฟบวก (สายสีแดง) ของมิเตอร์ไปเสียบเข้ากับขัวจ่ายไฟสายสีแดง ส่วนขั้ววัดไฟลบของมิเตอร์ยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิมเพื่อจะตรวจดูว่า Power Supply จ่ายไฟออกมาได้ 5 V.ถูกต้องหรือไม่
         7. หาพบว่า Power Supply จ่ายไฟออกมาสูงเกินหรือต่ำกว่า 5, 12 V. มากเกินไป แสดงว่าเสียให้เปลี่ยนตัวใหม่แทนเครื่องก็จะทำงานได้ตามปกติ

พัดลมระบายความร้อนของ Power Supply เสียเปลี่ยนอย่างไร
         สำหรับผู้ที่เคยพบปัญหาเปิดเครื่องไม่ติดตรวจสอบอุปกรณ์ภายในเครื่องทั้งหมดแล้วไม่เสีย จึงถอด Power Supply มาดู (สังเกตดูด้านหลังเครื่องก็ได้) พบว่าพัดลม Power Supply ไม่หมุนแต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรสำหรับการแก้ไข คือ ต้องหาซื้อพัดลมตัวใหม่มาเปลี่ยนในราคาตัวละประมาณ 80 - 100 บาท โดยแกะฝา Power Supply และถอดพัดลมตัวเก่าออกและทำการบัดกรีเพื่อเชื่อมสายพัดลมตัวใหม่เข้าบวงจร โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
         1. เปิดฝาครอบ Power Supply ออกและถอดพัดลมระบายความร้อนตัวเดิมออกโดยใช้คีมตัดสายไฟพัดลมตัวเดิมออกจากวงจร
         2. นำพัดลมระบายความร้อนตัวใหม่ที่เตรียมไว้ใส่แทนโดยทำการบัดกรีจุดเชื่อมต่อสายไฟใหม่ด้วยหัวแร้งพร้อมตะกั่วบัดกรี ให้เชื่อมให้สนิทกัน
         3. ใช้เทปพันสายไฟพันปิดรอยเชื่อมต่อเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรแล้วปิดฝาเครื่องนำไปประกอบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ และลองเปิดดู

การเปลี่ยน Power Supply แบบ ATX กรณีใช้เคส AT
         ภาพแสดง ATX Power Supply จากภาพสังเกตว่า Power Supply แบบ ATX นั้นแตกต่างจาก Power Supply แบบปกติ สวิตช์หลักของ ATX จะอยู่บริเวณตัวถังของภาคจ่ายไฟ (Housing of Power Supply) แทนที่จะต่อออกมาด้วยสายเคเบิ้ลแล้วต่อสวิตช์รีเลย์ควบคุมเหมือนภาคจ่ายไฟด้วยวิธีนี้ เมื่อใดก็ตามที่สวิตช์หลักทางด้านหลัง Power Supply กดอยู่ในตำแหน่งเปิดภาคจ่ายไฟจะอยู่ในภาวะ Standby พร้อมจ่ายไฟทันทีและจะทำงานสมบูรณ์แบบต่อเมื่อมีสัญญาณจากเมนบอร์ดส่งผ่านสาย 5 Volt Standby


   
         จากการทดสอบพบว่าบนเมนบอร์ดจะมีคอนเนคเตอร์สำหรับ Power ATX ปกติเคส ATX จะมีสายไฟสำหรับ Power ATX เข้ามาต่อที่ตำแหน่งดังกล่าวเมื่อกดปุ่มสวิตช์คอมพิวเตอร์จะทำให้สถานะของ Power ATX อยู่ในสถานะ On และคอมพิวเตอร์ใช้งานได้ อย่างไรก็ตามสำหรับเคสแบบ AT นั้น ไม่มีสายไฟและคอนเนคเตอร์ดังกล่าวทำให้ประสบปัญหาคือจะเอาสวิตช์ที่ไหนมาควบ คุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ครั้งหนึ่งในระหว่างการทดสอบเมนบอร์ด AT baby ที่สามารถต่อกับ ATX Power Supply พบว่าเมื่อเปลี่ยนเอา AT Power Supply ออก แล้วเอา ATX Power Supply มาใส่ จะไม่มีสวิตช์สำหรับเปิดคอมพิวเตอร์ แต่ในเคสจะมีสายไฟสำหรับปุ่ม reset และ SMI Green Mode ซึ่งเมื่อพิจารณาการทำงานของ ATX ก็น่าจะนำเอาเข้ามาต่อกับคอนเนคเตอร์ของ Power ATX ได้ จึงนำสายไฟที่มีคอนเนคเตอร์สำหรับ Reset มาต่อเข้ากับตำแหน่ง Power ATX บนเมนบอร์ด และพบว่าสามารถใช้งานควบคุมการปิดเปิดคอมพิวเตอร์ได้ แต่ไม่สามารถใช้ควบคุม ตามฟังก์ชั่น Dual Power Supply ได้ การใช้งานสวิตช์ดังกล่าวก็คือกดปุ่ม Reset (หรือ SMI Green Mode ขึ้นอยู่กับว่านำเอาสายไฟของอะไรไปเสียบลงบน Male connector ของ Power ATX บน เมนบอร์ด อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาด้วยวิธีดังกล่าวทำให้เปิดสวิชต์เครื่องได้แต่ไม่ ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถาวรการแก้ไขปัญหาเมื่อต้องการเปลี่ยนภาคจ่ายไฟ ATX สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้เคส AT ก็คือหาซื้อสวิตช์รีเลย์มาประยุกต์เพิ่มเติมจะได้ประสิทธิภาพของ ATX Power Supply

ข้อควรคำนึงเมื่อใช้ Power Supply แบบ ATX
         1.  สามารถควบคุมการปิดเปิดสวิตช์ (Soft Power Off) คอมพิวเตอร์ผ่านซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ได้ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้ได้คือ วินโดวส์ 95
         2.  ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคุณสมบัติ "OnNow" ที่ระบุไว้ใน Intel PC 97 โดยใช้สัญญาณควบคุมผ่านโมเด็มเพื่อเปิดสวิตช์คอมพิวเตอร์ได้หรือกำหนดเวลาเปิดสวิตช์คอมพิวเตอร์จาก RTC (Real Time Clock) ได้
         3.  พัดลมของ ATX ถูกออกแบบช่วยให้การระบายอากาศภายในเคสดีขึ้น

         4.  การควบคุมแรงดันไฟฟ้าของ ATX ออกแบบให้มีการควบคุมได้จากเมนบอร์ดที่ใช้ Chipset รุ่นใหม่